|
![]() |
|
ซัลส์บวร์ก(Salzburg) บ้านเกิดโมซาร์ท และโรงงานเกลือเมืองซัลส์บวร์ก (Salzburg) ประเทศออสเตรีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซัลส์ซักค์ (Salzach) มีฉากหลังเป็นเทือกเขาแอลป์ จึงมีธรรมชาติและทิวทัศน์อันสวยสดงดงาม เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศออสเตรีย ที่นี่เต็มไปด้วยศิลปะแบบบาโรคจนได้ชื่อว่าเป็นนครหลวงแห่งศิลปะบาโรค เป็นบ้านเกิดของคีตกวีเอกของโลก วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้เมื่อปี ค.ศ. 1997 อีกด้วย เป็นเมืองชายแดนก่อนจะข้ามไปสู่แคว้นบาวาเรียของประเทศเยอรมนี![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ มีอัจฉริยภาพทางดนตรีตั้งแต่อายุเพียงสามขวบ และเริ่มประพันธ์เพลงตั้งแต่อายุ 5 ขวบ หลังจากตระหนักถึงความสามารถของลูกชาย พ่อของโมซาร์ท เลโอโปลด์ โมซาร์ท(ค.ศ. 1719-ค.ศ. 1787) จึงพาลูกชายตระเวนแสดงไปทั่วยุโรปตั้งแต่อายุเพียง 6 ขวบ การแสดงที่เป็นที่กล่าวถึงบ่อยที่สุดคือการแสดงต่อหน้าพระพักตร์พระนางมาเรีย เทเรซา ณ พระราชวังเชินบรุนน์ แต่ปัจจุบันซัลส์บวร์กใช้ชื่อโมซาร์ทเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยว มีรูปปั้นโมซาร์ท จัตุรัสโมซาร์ท วิทยาลัยดนตรีโมซาร์ท แม้แต่ช็อกโกแลตก็ยังมีโลโก้โมซาร์ท
พิพิธภัณฑ์โมซาร์ทในเมืองซัลส์บวร์กมีอยู่สองแห่ง แห่งแรกคือพิพิธภัณฑ์โมซาร์ทิ เกบวร์ตสเฮาส์ Mozart Geburtshaus (Mozart Birthplace) คือบ้านที่โมซาร์ทเกิด จริง ๆ ครอบครัวโมซาร์ทเช่าห้องเล็ก ๆ ชั้นสามในอาคารหลังนี้ และอยู่รวมกัน 4 คน พ่อ แม่ พี่สาว และตัวเขาเอง จนมีอายุได้ 17 ปี จึงย้ายไปอีกหลังหนึ่งที่มีพื้นที่มากกว่า ต่อมาทางการได้ขอซื้อทั้งอาคารเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์โมซาร์ท ที่นี่มีขนาดเล็กกว่าพิพิธภัณฑ์แห่งที่สอง แต่เป็นที่รู้จักมากกว่าเพราะทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่าบนถนน Getreidegasse พิพิธภัณฑ์โมซาร์ทโวนเฮาส์ Mozart Wohnhaus (Mozart Residence) อยู่ตรงหน้าจัตุรัส Makartplatz อีกฝั่งของแม่น้ำซัลส์ซักค์ คือบ้านที่ครอบครัวโมซาร์ทย้ายมาอยู่เมื่อลูกโตขึ้น เป็นบ้านสองชั้นมีเนื้อที่กว้างขวางกว่าเดิม โมซาร์ทใช้ชีวิตที่นี่ เป็นเวลาถึง 7 ปี ในช่วงปี ค.ศ. 1773-1780 ภายในจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ เครื่องดนตรี ภาพวาด เพื่อแสดงประวัติชีวิตและผลงานของท่าน
Horse Pond สระน้ำม้า สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1695 เพื่อให้เป็นที่ดื่มน้ำของม้าของอาร์ชบิชอปผู้ครองนคร
เหตุผลในการมีป้ายสัญลักษณ์ของแต่ละร้านก็เพราะว่าในสมัยยุคกลาง ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้หนังสือ แต่ละร้านจึงทำสัญลักษณ์ของร้านเพื่อให้ลูกค้าจำได้ว่าร้านไหนเป็นร้านไหน ปัจจุบันประชาชนอ่านออกเขียนได้ แต่ร้านค้าก็ยังคงป้ายร้านกันไว้อยู่เพื่อความกิ๊บเก๋ แม้แต่ร้านแม็กโดนัลด์ยังมีป้ายของตัวเองเลย (รูปล่างซ้าย) ภาพซาลส์บวร์กทำจากกระเบื้องเผา
|
![]() |