วันนี้เป็นวันครบรอบ 50 ปี ของการปล่อยดาวเทียมดวงแรกที่ชื่อว่า Sputnik1 'สปุตนิก 1' (เบญไม่มีพจนานุกรมศัพท์เทคนิค ถ้าแปลผิดกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ)
ในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 ได้มีการปล่อยดาวเที่ยมจากองค์การ UdSSR ของประเทศรัสเซีย (อดีตสหภาพโซเวียต) ขึ้นไปโคจรรอบโลก เป็นครั้งแรกโดยนักวิศวกรชาวรัสเซียที่ชื่อว่า เซอร์กีโคโรลยอฟ S.P. Koroljow (Sergej Pawlowitsch Koroljow) ซึ่งปัจจุบันได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งโปรแกรมอวกาศของรัสเซีย
สปุตนิก ซึ่งมีความหมายว่า 'เพื่อนร่วมเดินทาง' มีรูปทรงกลม ทำด้วยอลูมินัมอัลลอย ขนาดเท่าลูกบาสเกสบอล มีขนาดรอบวง 58 ซม. น้ำหนัก 83.6 กิโลกรัม
ปล่อยเมื่อ 4. Oktober 1957 สิ้นสุด 8. Januar 1958
มีการทำงานส่งสัญญาณทั้งหมด 21 วัน
โคจรรอบโลกทุกๆหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุ 2 เครื่องและ เสาอากาศ 4 ต้น และส่งสัญญาณ Kurzwellen ในคลื่นความถี่ 20 MHz und 40 MHz เพื่อให้พื้นผิวโลกได้รับสัญญาณ
ในวันครบรอบนี้กลุ่ม Sternwarte Bochum ของประเทศเยอรมัน ทีเมื่อครั้งปล่อย Sputnik1 ได้เฝ้าฟังรับฟังสัญญาณได้เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1957 ได้ จึงมีการทำ Sputnik50 โดยการใช้ลูกโปร่งและเครื่องส่งสัญญาณปล่อยเพื่อเป็นการระลึกถึงและฉลองวันครบรอบ 50 ปี ของSputnik ให้เพือนนักวิทยุสมัครเล่นได้เฝ้ารับฟังสัญญาณ
โดย Sputnik50 มีสัญญาณเรียกขานว่า DA0SPUTNIK จะถูกส่งที่ Bochum ตำแหน่ง Locator JO31OK ในเวลา 0:00 ในความถี่ VHF 2-m /145,200 MHz ของ FM กำลังส่ง 1 W ความสูงจาก พื้นดิน 25 กิโลเมตร คราดว่าจะส่งสัญญาณได้ 3 - 24 ชม. (แต่จริงๆ ได้แค่ 4 ชม.) และมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องราวของ Sputnik1 โดยผู้ใดที่เฝ้าฟังสัญญาณสามารถส่งหลักฐานไปรับ QSL ได้ที่ DARC ใครอยากชมวีดีโอการดำเนินการปล่อยของกลุ่มนี้ คลิกเลยจ๊ะ
moegliches Tondokument siehe Link http://i58.photobucket.com/player.swf?file=http://vid58.photobucket.com/albums/g260/do6ben/MVI_6443.flv
นี้คือวีดีโอที่เบญทำไว้ ไม่ค่อยชัดเท่าไร เพราะถ่ายจากกล้องถ่ายรูป 4 Mega Pixels
เมื่อวันที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
วันนี้เบญได้รับเมล์ตอบรับจากกลุ่ม Sternwarte Bochum แล้วคะ เดี่ยวเบญแปลให้อ่านนะคะ

Liebe Amateurfunker, ถึงนักวิทยุสมัครเล่น,
erst mal vielen Dank fuer die zahlreichen Empfangsmeldungen und auch Tonmitschnitte.
อันดับแรกต้องขอขอบคุณสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการเฝ้าฟังในการติดต่อและการตัดต่อส่วนของเสียงสัญญาณที่ส่งมาให้
Wir möchten mit dieser E-Mail kurz darüber informieren, dass der Ballon am Freitag in Heiligenstadt (Niedersachsen) gefunden wurde.
เราต้องการประชาสัมพันธ์อย่างสั้นๆ ด้วยอีเมล์ฉบับนี้,ว่าได้เจอลูกโปร่งแล้วเมื่อวันศุกร์ทีเมืองไฮลิเก็น (รัฐนีแดร์ซัคเซ็น)แล้ว. "ตอนเหนือเยอรมัน"
Somit hat er eine Strecke von knapp 300 km zurueckgelegt. Er sendete letztendlich 3:47 Stunden.
แล้วก็เดินทาง(ลอยนะ)ได้เกือบ 300 กิโลเมตร. Sputnik50 ส่งสัญญาณร่วมได้ทั้งหมด 3 ชั่วโมง 47 นาที.
Wir haben insgesamt ca. 600 Empfangsbestaetigungen bekommen. Ein ausfuehrlicher Bericht wird noch folgen.
เราสามารถรวบร่วมผู้เฝ้าฟังรับสัญญาณได้ประมาณ 600 คน. และจะมีการรายงานรายละเอี่ยดความสำเร็จอีกในครั้งต่อไป.
PS: QSL-Karten sind in Arbeit
ปล. บัตรตอบรับสัญญาณกำลังดำเนินการอยู่
Mit freundlichen Gruessen( ด้วยความนับถืออย่างจริงใจ)
Das Team der Sternwarte Bochum (ทีม Sternwarte Bochum)
Mit freundlichen Gruesseen (ด้วยความนับถืออย่างจริงใจ)
Julia Droeger (จูเลีย ดรือเกอร์ )
Institut fuer Umwelt- und Zukunftsforschung
องค์การสำหรับสิ่งแวดล้องและการศึกษาค้นคว้าเพืออนาคต
Sternwarte Bochum
- Beobachtungsstation / praktische Astronomie
- สถานีสังเกตการณ์/ภาคปฏิบัตินักดาราศาตร์
Blankensteinerstr. 200a (ชื่อถนนBlankensteinerstr.เลขที่ตึก 200a)
44797 Bochum ( รหัสไปรษณีย์ 44797 เมือง โบคุม)
Tel: 0234/5798913
Fax:0234/5798958
www.Sternwarte-Bochum.de
astronomie(แอด)iuz-bochum.de

ข่าววันครบรอบ 50 ปี ดาวเทียมสปุตนิก
นี่คือเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศและการแข่งขันกันไปดวงจันทร์ระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา
ประเทศรัสเซียมีการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ของการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputnik 1) ไปเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2007 ณ ศูนย์ฝึกนักบินอวกาศ เมืองสตาร์ซิตี้ นอกกรุงมอสโก โดยมีวิศวกร อดีตนักบินอวกาศ เจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซีย เข้าร่วมงานเพื่อรำลึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์กันอย่างคับคั่ง รวมทั้งไมเคิล กริฟฟิน ผู้บริหารขององค์การนาซา และ ฌอง- ฌากส์ ดอร์เดน ผู้บริหารองค์การอวกาศยุโรป ด้วย
โอกาสนี้ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีไปยังนักวิทยาศาสตร์ด้านอวกาศของรัสเซียมีใจความตอนหนึ่งว่าการส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อย่างแท้จริงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ
เดวิด ทอมป์สัน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์นาซาผู้มีชื่อเสียงของศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดย้อนอดีตให้ฟังว่า ใครๆต่างก็พากันออกจากบ้านเพื่อดูดาวเทียมดวงนี้กันรวมทั้งตัวเขาด้วย
ว่ากันว่าประวัติศาสตร์การแข่งขันกันทางอวกาศในทศวรรษที่ 1960 ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตอาจเปลี่ยนโฉมหน้าไป ไม่แน่ว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้พิชิตดวงจันทร์ได้ก่อน หากผู้นำโซเวียตในขณะนั้นทำตามคำขอของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรด้านอวกาศ
เมื่อประธานาธิบดีเคนเนดี้ของสหรัฐอเมริกาประกาศในปี 1961ว่าจะส่งมนุษย์อวกาศสหรัฐไปเหยียบดวงจันทร์ภายในปี 1970 โคโรลยอฟ ได้เข้าพบ นิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำโซเวียตเพื่อขอให้สนับสนุนเงินทุนในการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา
ดร.เซอร์กี ครุสชอฟ บุตรชายของ นิกิต้า ครุสชอฟเล่าถึงเหตุการณ์นี้เมื่อครั้งให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า
บิดาของเขาเห็นว่าการแข่งขันกันไปดวงจันทร์ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล ' นิกิต้า ไม่ต้องการมีส่วนในการแข่งขันกันไปดวงจันทร์ อาหารและที่อยู่อาศัยมีความสำคัญเป็นลำดับแรก'
แม้ว่าในสมัยต่อมา เลโอนิด เบรสเนฟ ผู้นำโซเวียตจะอนุมัติโปรแกรมไปดวงจันทร์ก็ตาม แต่ทว่างบประมาณเพื่อการนี้ไม่เพียงพอและยังเกิดความขัดแย้งระหว่างโคโรลยอฟและทีมออกแบบด้วย ทำให้การพัฒนาจรวดต้องล่าช้าออกไป
นี่คือบางส่วนของประวัติศาสตร์การแข่งขันกันเป็นเจ้าอวกาศระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาในยุคแรกหลังจาก
ดาวเทียมสปุตนิก 1 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
สปุตนิก 1 ไม่เพียงแต่เป็นชัยชนะทางวิศวกรรมอวกาศของโซเวียต และเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อในยุคสงครามเย็นเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติในทุกวันนี้อีกด้วย
เดวิด ทอมป์สัน บอกว่า ' สปุตนิกทำให้ทุกๆคนครุ่นคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกันอย่างจริงจังมาก'
ส่วนไมเคิล กริฟฟิน ผู้บริหารองค์การนาซากล่าวในพิธีเฉลิมฉลองครั้งนี้ว่า เขาเชื่อว่าความสำเร็จในการส่งสปุตนิกของชาวรัสเซียนั้นส่งผลต่อการสร้างสรรค์โปรแกรมอวกาศของอเมริกา
'ถ้าไม่มีสปุตนิกก็คงจะไม่มีอพอลโล' เขากล่าว

การชิงชัยพิชิตดวงจันทร์
 |
หลังสปุตนิก 1 ขึ้นสู่อวกาศได้เพียง 1 เดือน โซเวียตก็ส่งสุนัขชื่อ 'ไลก้า'(Laika) ขึ้นไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2 เมื่อวันที่ 3พฤศจิกายน 1957 เพื่อศึกษาการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตในอวกาศก่อนจะส่งมนุษย์อวกาศขึ้นไป
จากรูป ไลก้าในห้องโดยสารของดาวเทียมสปุตนิก 2 |
 |
ด้านสหรัฐอเมริกาประสบผลสำเร็จในการส่งดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอร์ 1 (Explorer 1) ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1958 |
 |
ต่อจากนั้นโซเวียตก็นำหน้าไปอีกเมื่อส่งยานอวกาศไปถึงดวงจันทร์ได้ก่อนสหรัฐอเมริกา ยานลูนา 1 เดินทางจากโลกในวันที่ 2 มกราคม 1959 และโคจรผ่านดวงจันทร์ในระยะทาง 6,000 กิโลเมตร ตามด้วยยานลูนา 2 และยานลูนา 3 ในปีเดียวกัน |
 |
วันที่ 31 มกราคม 1961 สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จ ในการส่งลิงชิมแปนซีชื่อ ' แฮม' ขึ้นไปใช้ชีวิตช่วงสั้นๆในอวกาศเป็นเวลา 16.5 นาทีในแคปซูลของยานเมอร์คิวรี่ที่ระดับความสูง 155 ไมล์ เพื่อปูทางสำหรับการส่งมนุษย์อวกาศ |
 |
ทว่าต่อมาอีกสองเดือนเศษ โซเวียตก็ก้าวล้ำหน้ากว่าสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เมื่อส่ง ยูริ กาการิน (Yuri Alexeyevich Gagarin) ขึ้นไปใช้ชีวิตในอวกาศกับยานวอสต๊อก 1(Vostok 1) เป็นเวลา 108 นาที ในวันที่ 12 เมษายน ปี 1961
จากรูป ยูริ กาการิน ขณะกำลังเตรียมตัวเดินทางกับยานวอสต็อก 1 |
 |
ก่อนหน้าอลัน เชพาร์ด (Alan Shepard) มนุษย์อวกาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นไปใช้ชีวิตในอวกาศกับยานเมอร์คิวรี่ 3 เป็นเวลา 15 นาที เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1961 |
 |
อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกากลับส่งยานอวกาศร่อนลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้ก่อนโซเวียต ยานเรนเจอร์ 4 ร่อนลงบนดวงจันทร์ในด้านมืดได้สำเร็จเมื่อวันที่26 เมษายน 1962 |
 |
ส่วนโซเวียตส่งยานลูนา 9 ร่อนลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1966 ในปีเดียวกันนี้ |
 |
ยานเซอร์เวเยอร์ 1 ของสหรัฐอเมริกาก็ร่อนลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่2 มิถุนายน 1966 |
 |
ในที่สุดแล้ว ชัยชนะในการแข่งขันกันพิชิตดวงจันทร์ ก็ตกเป็นของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ยานอพอลโล 11 นำ นีล อาร์มสตรองและเอ็ดวิน อัลดริน เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1969
จากรูป นีล อาร์มสตรอง บนดวงจันทร์ |

นักบินอวกาศจำเป็น นักบินอวกาศ?คน?แรกของโลก แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่มนุษย์ผู้กล้าหาญ แต่กลับเป็นสัตว์ที่อาจจะเรียกได้ว่า ?ซวย? ที่จะต้องมาอุทิศชีวิตของมัน ให้กับการพัฒนาโครงการอวกาศ ปฏิบัติการส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศแล้วนำมัน กลับมายังโลกได้เป็นผลสำเร็จครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2494 โดยที่ญาติทาง พันธุกรรมที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ที่สุดคือลิงเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ขึ้นสู่เบื้องบน พ้นชั้นโอโซนไปสู่บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์ได้ ส่วนสุนัขนับเป็นสัตว์ชนิดแรก ที่สามารถขึ้นไปโคจรรอบโลกได้ นอกจากนั้นก็ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่ได้ ไปเยือนอวกาศ ตั้งแต่หนูไปจนถึงชิมแปนซี และแม้กระทั่งประเทศฝรั่งเศส ก็เคยเตรียมแมวบ้านสำหรับโครงการอวกาศเช่นเดียวกัน
แต่สำหรับพวกเราแล้ว ความทรงจำเกี่ยวกับนักบินอวกาศรุ่นแรกๆ ก็จะมีชื่อของ ยูริ กาการิน หรือ อลัน เชปพาร์ด และมักจะหลงลืมไปว่า ความสำเร็จของมนุษย์ในฐานะ นักบินอวกาศนั้นเป็นหนี้บุญคุณต่อบรรดาสัตว์ทดลองเหล่านั้น สัตว์ที่เข้ามาช่วยทดสอบ สภาวะต่างๆ ในอวกาศซึ่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจำลองให้เกิดขึ้นบนโลกได้ คนทั่วไปไม่รู้จัก แซม, แฮม หรือแม้กระทั่ง ไลก้า นักบินอวกาศที่เป็นผู้ทดสอบสภาพไร้น้ำหนัก และความเครียดที่จะมีต่อสิ่งมีชีวิตในยามที่ต้องเดินทางไปสู่อวกาศ คนทั่วไปลืมไปว่า พัฒนาการของโครงการอวกาศสำหรับมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการเอาตัวรอด ของนักบินรุ่นบุกเบิกที่ไม่ ใช่มนุษย์ ไลก้า, อัลเบิร์ต, พเชลกา, มุชกา และ กอร์โด เป็นเพียงสัตว์จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้แผ้วถางทางสำหรับการมุ่งไปสู่ ?พรมแดนสุดท้าย? ของเรา ทั้งยูริ และอลัน รวมทั้งพวกเราเป็นหนี้อันใหญ่หลวงที่เกิดจากผู้บุกเบิกยุคแรกทุกตัว
เที่ยวบินวานร เรามักถือเอาการส่งดาวเทียม สปุตนิกในปี พ.ศ. 2500 เป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ แต่ถ้าจะนับกันจริงๆ แล้ว เที่ยวบินสู่อวกาศเริ่มต้นก่อนหน้านั้น ก่อนจะมีการก่อตั้งองค์การนาซา กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีการทดลองเกี่ยวกับอวกาศอยู่แล้ว ในปี พ.ศ. 2492 มีการใช้จรวดวี-2 ในการส่งลิงจากห้องปฏิบัติการแพทย์ของทหารอากาศไปยังบรรยากาศชั้นสูงเพื่อศึกษาว่า สิ่งมีชีวิตประเภทไพรเมตสามารถทนต่อสภาวะแบบอวกาศได้หรือไม่
ลิงที่ขึ้นสู่อวกาศก็มี อัลเบิร์ต I, II, III และ IV โดยแยกกันคนละเที่ยวบิน ลิงแต่ละตัวจะนั่งไป ในส่วนปลายแหลมของจรวด ข้อสังเกตในกรณีนี้ประการหนึ่งคือ ลิงตัวแรกมีชื่อว่าอัลเบิร์ตซึ่งมี ความเป็นมนุษย์อยู่ แต่ลิงตัวต่อๆ มากับมีชื่อที่ลงท้ายด้วยหมายเลข ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ ที่น้อยลงสำหรับการทดลอง แต่ลิงทุกตัวในโครงการนี้ล้วนประสบชะตากรรมเดียวกัน นั่นก็คือ สามารถเอาตัวรอดได้ในขาขึ้น ไม่แสดงอาการเจ็บป่วยขณะอยู่บนนั้น แต่พวกมันไม่อาจรักษาชีวิตในขาลงเอาไว้ได้ด้วยเหตุที่ร่มชูชีพไม่ทำงาน พวกมันเสียชีวิตจาก การตกกระแทกกับพื้นโลก
ถัดจากนั้นไม่กี่ปี กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ส่งจรวดแอโรบีขึ้นจากฐานทัพอากาศ ฮัลโลแมนในนิวเม็กซิโกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2494 เที่ยว-บินนี้ได้นำลิงที่ชื่อ โยริก กับหนูอีก 11 ตัวขึ้นไป จรวดได้ขึ้นไปสูงถึง 72 กิโลเมตร และสัตว์ทุกตัวปลอดภัย รวมทั้งยังกลับมาสู่โลกโดยไม่เสียชีวิตอีกด้วย (อันที่จริงชื่อโยริกนี้เป็นชื่อเดียวกับตัวละคร ในเรื่องแฮมเล็ตของเช็คสเปียร์ ซึ่งในองค์ที่ 5 ฉากที่ 1 ก็มีการค้นพบหัวกะโหลกของโยริก โชคดีที่ในการทดลองไม่ได้จบแบบเดียวกับบทละคร)
โครงการแอโรบีสิ้นสุดลงในเที่ยวบินสุดท้ายที่ส่งขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 โดยมีผู้โดยสารเป็นหนู 2 ตัวคือ มิลเดร็ด กับ อัลเบิร์ต และลิงฟิลิปปินส์อีก 2 ตัว คือ แพทริเชีย กับ ไมค์ พวกมันขึ้นไปที่ระดับ 58 กิโลเมตร และได้รับการเฝ้าดูด้วยกล้องวิดีโอ ที่ติดตั้งอยู่กับจรวด นักวิทยาศาสตร์ของกองทัพได้สังเกตผลของความเร่ง, สภาวะไร้น้ำหนัก และผลของการลดความเร่งผ่านกล้องนี้ และเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของจรวด ด้วยความเร็ว 3,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แพทริเชีย กับไมค์ ก็ต้องถูกรัดตัวติดกับที่นั่งที่เตรียมไว้ (ในขณะที่มิลเดร็ดกับอัลเบิร์ตลอยเท้งเต้งในที่ของมันเมื่ออยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก) หลังจากจบภารกิจแล้ว ลิงทั้งสองตัวก็ได้รับการเกษียณอายุไปอยู่ที่สวนสัตว์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน และก็อยู่กันอย่างมีความสุขนับแต่นั้นมา
การทดลองส่งสิ่งมีชีวิตไปยังขอบอวกาศในช่วงแรกนี้ต้องสะดุดไปเป็นเวลาถึง 6 ปี เพราะกองทัพอากาศสหรัฐฯหันไปทำการศึกษาเกี่ยวกับขีปนาวุธและระบบป้องกันภัยต่างๆ ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตก็ทำการศึกษาการส่งสุนัขขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก การทดลองของ รัสเซียใช้สุนัขถึง 9 ตัวในฐานะเป็น ?สุนัขอวกาศ? รวมไปถึงการใช้ชุดอัดอากาศในห้องไร้ความดันด้วย สุนัขของโซเวียตสองตัวที่อยู่ในการทดลองนี้คือ อับบินา และ ทซีแกงกา ซึ่งมันได้ขึ้นไปยัง ขอบบรรยากาศของโลก และสามารถดีดตัวออกมาได้อย่างปลอดภัยในขากลับสู่โลก และโซเวียตได้ทำสถิติส่งสัตว์ขึ้นไปได้ที่ระดับความสูงถึง 483 กิโลเมตร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ เตรียมการสำหรับการเขย่าโลกในปี พ.ศ. 2500 ที่จะตามมา นั่นก็คือการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 และ สปุตนิก 2 ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก นับเป็นประวัติศาสตร์อวกาศครั้งแรกของการบุกเบิกอวกาศ?
ตัวเห่าเขย่าอวกาศ
ถึงปี พ.ศ. 2500 โซเวียตเองก็มีความมั่นใจในเที่ยวบินสู่อวกาศของพวกเขา และก็พร้อมที่จะส่งยานอวกาศที่มีสิ่งมีชีวิตไปยังวงโคจรด้วย หลังจากการส่งดาวเทียมดวงแรก ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 แล้ว โซเวียตก็เริ่มส่งสุนัขขึ้นไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 สุนัขที่ส่งขึ้นไปนั้นเป็นสุนัขไซบีเรียน ฮัสกีมีชื่อว่า ไลก้า
เชื่อหรือไม่ว่า ฮัสกีตัวนี้เป็นสุนัข ที่ถูกจับมาจากข้างถนนในกรุงมอสโก นั่นเอง!
สหภาพโซเวียตได้เปิดตัวไลก้าสู่สาธารณะในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งไลก้าได้ส่งเสียงเห่าใส่ไมโครโฟนสำหรับการถ่ายทอดวิทยุ นั่นเป็นที่มาของชื่อของมัน เนื่องจากคำว่าไลก้าแปลว่า เห่า ส่วนชื่อของไลก้าที่สื่อมวลชนฝั่งอเมริกาตั้งให้เล่นๆ ก็คือ มุตนิก
ในภารกิจนี้ ไลก้าต้องนั่งไปในยานหนัก 509 กิโลกรัมที่มีเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์หลายอย่าง มีระบบเกื้อชีวิต ไลก้าเองถูกยึดให้อยู่ในที่ที่ มันขยับได้เพียงแค่ไปให้ถึงอาหารและน้ำเท่านั้น นอกจากนั้นที่ตัวมันก็ยังต้องติดขั้วไฟฟ้าสำหรับวัดความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจด้วย
โซเวียตใช้จรวด SS-6 ในการส่งสปุตนิก 2 ขึ้นสู่อวกาศจากฐานอวกาศในไบคานัว (ปัจจุบันเป็นเขตของประ-เทศคาซัคสถานและยังใช้ในการส่งยานอวกาศอยู่) คราวนี้สปุตนิก 2 ขึ้นไปสูงกว่าสปุตนิก 1 เกือบ 2 เท่านั่นคือขึ้นไปที่ระดับความสูง 1,671 กิโลเมตร ซึ่งไลก้าเองก็ไม่ได้รับอันตรายใดๆ และแม้ว่าจะมีการยึดตัวไลก้าให้อยู่กับที่ไว้ มันก็สามารถกิน ดื่ม เห่า ขยับไปรอบๆ ได้ ในตอนที่มันอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก
--------------------------------------------------------------------------------
ไลก้า สุนัขฮัสกีเพศเมียที่ขึ้นไปกับยานสปุตนิก 2 และเสียชีวิตในวงโคจรจากอาหารเป็นพิษ หรือขาดออกซิเจน อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อระบบยังชีพล้มเหลว
--------------------------------------------------------------------------------
อย่างไรก็ตาม ยานสปุตนิก 2 ไม่ได้ออกแบบ ให้กลับสู่โลกอย่างสมบูรณ์ เรื่องของไลก้า จึงจบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เราไม่รู้แน่ชัดนัก ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ประเมินว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ได้ ระหว่าง 4-10 วันในวงโคจร บางคนก็บอกว่า อาหารมื้อท้ายๆ ของเธอ(ไลก้า)มีภาวะเป็นพิษ บางส่วนก็อ้างว่าไลก้าขาดออกซิเจนเมื่อแบตเตอรี่ ของระบบเกื้อชีวิตหมด แต่ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ไหนก็ตาม สปุตนิก 2 อยู่ในวงโคจรนาน 163 วัน โคจรรอบโลกครบรอบในเวลา 1 ชั่วโมง 42 นาที รวม 2,370 รอบ แล้วในท้ายสุด โลงศพของไลก้าก็ตกลงสู่โลกและไหม้สลายหมดไปในอากาศเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2501
ปีให้หลัง อนุสาวรีย์ของสุวานอวกาศก็ได้มีการสร้างขึ้นนอกกรุงมอสโก โดยมีรูปของมันเห่าขณะสวมชุดนักบินอวกาศอยู่
กบินทร์ของลุงแซม หวนคืนเบื้องบน 13 ธันวาคม 2501 อเมริกาได้กลับมาส่งสัตว์ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้ง ในวันดังกล่าว กองทัพสหรัฐฯได้ส่ง กอร์โดซึ่งเป็นลิงสเควอเรลไปกับจูปิ-เตอร์ เอเอ็ม-13 โดยเป็นการทดลองในลักษณะกึ่งโคจร กอร์โดปลอดภัยในเที่ยวบิน แต่เสียชีวิตในขั้นตอนร่อนลงซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกไม่ทำงาน
จากนั้น 6 เดือน พวกเขาก็ลองอีกครั้ง คราวนี้เป็นการส่งลิงรีซัสเพศเมียชื่อ เอเบิล และลิงสเควอเรล ชื่อ เบเคอร์ ไปกับจูปิเตอร์ เอเอ็ม-18 ในภารกิจแบบเดิม ความสูงของการทดลองนี้อยู่ที่ 483 กิโลเมตร โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 16,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลิงทั้งคู่เผชิญกับสภาพไร้น้ำหนักเป็นเวลา 9 นาทีก่อนจะกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย แต่นักวิทยาศาสตร์ต้องผ่าตัดนำเครื่องวัดสัญญาณชีพ ออกจากลิงทั้งสองตัว โชคร้ายที่เอเบิลต้องเสียชีวิตในการผ่าตัดครั้งนี้
าก็เป็นคราวของ นาย และ นางแซม ลิงรีซัสอีกคู่หนึ่ง ในโครงการลิตเติล โจ โดยลิงตัวผู้ขึ้นไปก่อนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 โดยแซมเดินทางเป็นระยะทาง 88 กิโลเมตรในอวกาศ ภารกิจนี้เป็นการทดสอบที่นั่งและชุดอุปกรณ์สำหรับความเร่งสูงซึ่งจะนำมาใช้ ในโครงการเมอร์คิวรีในเวลาต่อมา หลังจากจบเที่ยวบิน เรือรบยูเอสเอส บอรีก็ได้นำตัวแซมขึ้นจาก มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณนอกแหลมแฮตเทอราส นอร์ท แคโรไลนา
นายกของแซมรายงานด้วยว่า แซมดีใจมากในตอนที่มันพบกับคุณนายแซมเมื่อมันไปถึงห้องทดลอง
หนึ่งเดือนหลังจากนั้น คุณนายแซมก็ได้เดินทางสู่อวกาศในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2503 เที่ยวบินนี้เป็นการทดสอบระบบดีดตัวสำหรับโครงการเมอร์คิวรี ดังนั้นคุณนายแซมจึงขึ้นไปสูงเพียง 14 กิโลเมตรเป็นเวลา 58 นาที และเธอก็กลับลงมาอย่างปลอดภัย โดยได้รับการช่วยเหลือขึ้นจาก มหาสมุทรแอตแลนติกโดยเฮลิคอปเตอร์ของนาวิกโยธิน
สุวานโซเวียต และกระบี่ยูเอสร่วมปันอวกาศมืดมิด
31 มกราคม พ.ศ. 2504 สหรัฐ-อเมริกาได้ส่งชิมแปนซีไปบินกึ่งโคจรอีกครั้ง ลิงที่ได้รับเกียรตินี้(หรือเปล่า?) ชื่อว่าแฮม โดยมันขึ้นไปกับยานเมอร์คิวรีด้วยจรวดนำส่งเรดสโตนจากฐาน ณ แหลมคานาเวอรอล ฟลอริดา
แฮมเป็นชิมแปนซีอายุ 4 ปี มันกับพวกๆ อีกจำนวนหนึ่งผ่านการฝึกฝนให้ดึงชุดคันบังคับให้ถูกลำดับ สำหรับการทดสอบในภารกิจนี้คือ การพิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตสามาถทำงานได้ในช่วงการทะยานขึ้นฟ้า ในช่วงภาวะไร้ น้ำหนัก และในช่วงกลับสู่โลก
ยานอวกาศในเที่ยวบินนี้พบกับปัญหาอีกจนได้ ทำให้มันเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว 9,429 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าที่วางแผนไว้ถึง 2,345 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วที่เพิ่มขึ้น ทำให้แฮมต้องพบกับภาวะไร้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 6.6 นาที นานกว่าแผน 1.7 นาที และยานอวกาศออกนอกเส้นทางเดิมถึง 196 กิโลเมตร แม้จะมีความยุ่งยากมากมาย แฮมก็ยังคงทำงานของมันได้เกือบจะสมบูรณ์แบบ ห้องนักบินของแฮมตกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ไกลจากเป้าหมายมาก ดังนั้นจึงไม่มีพาหนะใดไปช่วยแฮมได้ในทันที ยานของแฮมถูกคลื่นซัด จนพลิกตะแคง และอยู่ในสภาพกึ่งลอยกึ่งจมเป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมงก่อนที่เฮลิคอปเตอร์ จะไปถึงแล้วเปิดประตูยานออกมาได้
--------------------------------------------------------------------------------
แฮม ชิมแปนซีที่ปฏิบัติภารกิจได้อย่างดีเยี่ยม แม้จะมีความผิดพลาดในการทดลอง
--------------------------------------------------------------------------------
มหัศจรรย์อย่างยิ่งที่แฮมยังคงรอดชีวิตและไม่ได้รับอันตรายเลย จากเหตุการณ์นี้ทำให้ สหรัฐอเมริกามั่นใจในโครงการอวกาศของพวกเขา และทำการส่งอลัน เชปพาร์ด ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 แต่ก็เป็นการบินแบบกึ่งโคจรเท่านั้น
ส่วนแฮมก็ได้รับการเกษียณอายุในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2506 และย้ายไปอยู่ที่ สวนสัตว์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน
ขณะที่อเมริกาทำการทดลองอยู่นี้ ทางซีกโซเวียตก็ยังคงเดินหน้าต่อไปด้วย โซเวียตส่งสุนัขขึ้นสู่อวกาศอีกหลายครั้งเพื่อแผ้วทางให้กับเที่ยวบินมนุษย์ หนึ่งในการเตรียมการนี้คือ การส่งสุนัขสีดำชื่อ เชอร์นุชกา(แปลว่า เจ้าดำ) ไปพร้อมกับหนู และหนูตะเภา ในเที่ยวบินของสปุตนิก 9 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ก็ ส่ง ซีเวสดอชกา (แปลว่า ดาวน้อย) ไปพร้อมกับหุ่นไม้รูปมนุษย์ อันเป็นการถากถางโดยสมบูรณ์ให้กับยูริ กาการิน มนุษย์คนแรก ในวงโคจรโดยกาการินขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 ใช้เวลา 108 นาที โคจรในอวกาศด้วยยานวอสตอก 1
ปลายปี พ.ศ. 2504 สหรัฐ-อเมริกาก็สามารถส่งลิงไปโคจรในอวกาศได้ในวันที่ 29 พฤศจิกายนปีนั้น ลิงชิมแปนซีชื่อ อีนอส ได้กลายเป็นลิงชิมแปนซีตัวแรกในอวกาศ มันโคจรรอบโลก 2 รอบก่อนจะลงมา ซึ่งเป็นการลงก่อนกำหนดอันเนื่องมาจากยานอวกาศทำงานได้ไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นอีนอสยังทำงาน ของมันในเที่ยวบินนี้ได้สมบูรณ์ด้วย ถัดมาในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 จอห์น เกล็น ก็กลายเป็น ชาวอเมริกันคนแรกที่ได้ไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลก
เมื่อมนุษย์สามารถท่องอวกาศได้ การใช้สัตว์ก็หมดความจำเป็นลงไป สัตว์ส่วนหนึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อเป็นการปูทางสำหรับภารกิจสู่ดวงจันทร์ รวมทั้งการใช้ชีวิตในอวกาศ เป็นเวลานานในโครงการสกายแล็บ
เพื่อนร่วมโลกของเราเหล่านั้นได้ทำหน้าที่เป็น ?ตัวแสดงแทน? ของมนุษย์ และได้ช่วยพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า การท่องอวกาศทำได้จริง หากปราศจากไลก้า คุณนายแซมแล้ว ยูริ และอลัน ก็อาจเป็นเพียงคนธรรมดา ที่ไม่มีใครรู้จักก็เป็นได้
แปลและเรียบเรียงจาก
RELUCTANT ASTRONAUT,
www.astronomy.com