ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
เป็นสัญลักษณ์ ศูนย์รวมจิตใจของประเทศ งานด้านพิธีกรรม เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และมีบทบาทด้านการทูต มีหน้าที่เป็นผู้นำและตัวแทนประเทศออกไปทำสัญญาหรือกิจกรรมทางกฏหมายกับต่างประเทศ แต่งตั้งและปลดข้าราชการของสหพันธรัฐ ตรวจตราร่างกฏหมายใหม่และประกาศให้เป็นกฏหมาย เสนอตัวผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งและปลดรัฐมนตรีตามคำเสนอของนายกรัฐมนตรี อภัยโทษนักโทษ เป็นต้น
มาจากการรับเลือกโดยที่ประชุมสภาสหพันธรัฐ (Bunddesversammlung) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนราษฏรและผู้แทนรัฐสภาของมลรัฐต่างๆ (Laenderparlament) ได้เลือกส่งเข้ามา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ประชุมสภาจะเรียกประชุมเป็นพิเศษ และเสนอตัวผู้มีบุคคิลภาพเป็นที่นับถือและไว้วางใจจากคนส่วนใหญ่และไม่เป็นสมาชิกของรัฐสภาแห่งรัฐใดๆ เข้าคัดเลือกประธานาธิบดี มีการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และสามารถสมัครรับเลือกซ้ำได้อีกครั้งเดี่ยวเท่านั้น
นายกรัฐมนตรี ต้องมีสายตาที่ยาวไกล ในความคิดทางการเมือง เข้าใจและเล็งการณ์ไกลในเหตุการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหว อยู่ในฐานะที่จะให้ความเห็น ตักเตือน แนะนำและให้กำลังใจแก่ประชาชนได้ ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เอนเอียงเข้าข้างพรรคการเมืองใดๆ แต่เน้นหลักนโยบายร่วมของพรรคการเมืองต่างๆ และคอยตะล่อมให้การบริหารปกครองของรัฐบาลสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเสมอ คอยถ่วงดุลอำนาจของการเมืองให้พอดีๆ
ประธานาธิบดี ที่เป็นที่เคารพนับถือนั้นมีอิทธิพลต่อจิตใจของประชาชนมาก
ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เมื่อปี ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน
Prof. Dr. Theodor Heuss (FDP)
Bundespräsident
von 1949 bis 1959
|
Heinrich Luebke (CDU)
Bundespräsident
von 1959 bis 1969
|
Dr. Dr. Gustav W. Heinemann (SPD)
Bundespräsident
von 1969 bis 1974
|
Walter Scheel (FDP)
Bundespräsident
von 1974 bis 1979
|
Professor Dr. Karl Carstens (CDU)
Bundespräsident
von 1979 bis 1984
|
Dr. Richard von Weizsäcker (CDU)
Bundespräsident
von 1984 bis 1994
|
Prof. Dr. Roman Herzog (CDU)
Bundespräsident
von 1994 bis 1999
|
Johannes Rau (SPD)
Bundespräsident
von 1999 bis 2004
|
Dr. Horst Koehler (CDU)
Bundespräsident seit 2004
|
|
|