คือวิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล (Digital) ที่มีการรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขในเครื่องเดี่ยวกัน (VHF/UHF) ที่มีการทำงานคล้ายกับโทรศัพท์เคลื่อนที GSM จะมี (Controller) และ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ ของเคลื่อข่ายนั้นๆ และสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ ใช้ Modolation 3 แบบ คือ GMSK,QPSK,4FSK และมีระบบ Digital scramble นอกจากนั้นยังสามารถรองรับโครงข่าย ATM ของข้อมูล Packet โดยผ่าน Gateway และถ่ายทอด จากข้อมูล GPS (D-GPRS)
ความหมายของ D-STAR ( D igital-S mart T echnologz forA mateur R adio)
D igital การรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลข
S mart นำสมัย/เนี้ยบ/ฉลาด
T echnologz เทคโนโลยี
A mateur สมัครเล่น
R adio วิทยุ
เบญแปลได้ว่า เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขที่นำสมัยของนักวิทยุสมัครเล่น
เป็นการร่วมเข้าด้วยกันของการส่งข้อมูลและการสนทนา
เปิดมาตราฐานสำหรับการรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลข
ถูกเผยแพร่จากสหพันธ์นักวิทยุสมัครเล่นญุ่ปุ่น (JARL) ในปี 2001
อีก 3 ปีต่อมา ได้มีการพัฒนาจนใช้งานได้จริงจาก JARL และรัฐบาลญี่ปุ่น
โดยได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จากบริษัท Icom
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในช่องสัญญาณ 2 m (145 MHz) และ 70 cm (430 MHz)
เท่ากับ 4.8 kbps "4800 ตัวอักษรต่อวินาที" หรือถ้าเทียบกับ FM มันใช้พื้นทีน้อยกว่า 3 เท่าคะ
- ดิจิทัลเสียง (DV) กับความเร็ว 3600 bps, ร่วมระบบสำรองข้อมูล
(คือเมื่อเราพูดไปเครื่องเราจะรับไปแปลเป็นโค๊ตดิจิทัล และจะทำสำเนาไว้ทั้ง หมด 3 ชุด และส่งไปให้ผู้รับ
เมื่อผู้รับได้รับโค๊ตดิจิทัล ก็จะมีการเปิดสำเนาทั้ง 3 มาพร้อมกัน เพื่อความคมชัดของสัญญาณ)
- ดิจิทัลข้อมูล (DV) กับความเร็ว 1200 bps[/li]
อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในช่องสัญญาณ 23 cm (1.2 GHz) 128 kbps
(128,000 ตัวอักษรต่อวินาที) - High speed Data (DD) ข้อมูลความเร็วสูง กับความเร็ว 128 kbps (เชื่อมต่อ Ethernet)
- ดิจิทัลเสียง (DV) กับความเร็ว 3600 bps, ร่วมระบบสำรองข้อมูล
- ดิจิทัลข้อมูล (DV) กับความเร็ว 1200 bps
ใช้เครื่องกำเนิดเสียง Advanced Multi - Band Excitation
ในตอนนี้มีแต่เครื่องสื่อสาร D-STAR ของบริษัท ICOM
เครื่องสื่อสาร D-STAR ของ Kenwood ประกาศใช้ในรุ่น TMW-706
ระบบสถานีทวนสัญญาณ D-STAR
การติดต่อเชื่อมโยง D-STAR ต้องใช้สัญญาณเรียกขาน
เส้นทางสู่คู่สนทนา QSO ด้วยระบบเคลื่อข่าย D-STAR
กลุ่มเคลื่อข่ายสามารถขยายได้อย่างไม่จำกัด สามารถสร้างเคื่อข่ายได้กว้างไกล
แบนด์วิธ (ความถี่คลื่นกว้าง) ใน VHF/UHF ใช้น้อยกว่า 6 KHz
D-STAR ทำงานอย่างไร
D-STAR ติดต่อเชื่อมโยงด้วยสัญญาณเรียกขาน
ทุกๆ สถานีทวนสัญญาณต้องมีสัญญาณเรียกขาน
ทุกๆ เครื่องใช้ของนักวิทยุสมัครเล่น จะมีโปรแกรมที่แสดงสัญญาณเรียกขานของผู้ใช้
สัญญาณเรียกขานของนักวิทยุสมัครเล่นจะแสดงทุกครั้งที่มีการส่งสัญญาณ
ทุกๆ เครื่องรับส่งสัญญาณ จะมีให้ใส่ข้อมูล 4 สัญญาณ
MyCall สัญญาณเรียกขานของตัวเอง
UrCall สัญญาณเรียกขานที่จะเรียก (ถ้าไม่เจาะจงก็ใส่เป็น CQ CQ CQ )
Rpt1 สถานีทวนสัญญาณที่ใช้เป็นประจำ ของเบญเป็น DB0DFT
Rpt2 สถานีทวนสัญญาณ Gateway
ความประทับใจที่ได้ใช้ D-STAR มาเป็นเวลา 10 เดือน
ชอบมากๆ เพราะใช้งานได้เกือบเหมือนโทรศัพท์เคลื่อนที มีสัญญาณที่ชัดเจน และที่หน้าจอวิทยุสื่อสาร มีการแจ้งรายละเอี่ยดต่างๆ เช่น ตอนนี้คู่สนทนา มีสัญญาณเรียกขานอะไร ใช้สถานีทวนสัญญาณ สถานีไหนในกรณีในการเดินทางและผ่านสถานีทวนสัญญาณ เครื่องสื่อสาร D-STAR จะเลือกช่องสัญญาณ ของสถานีทวนสัญญาณในข่ายนั้นๆ โดยอัตโนมัติ และใช้ส่ง SMS (ข้อความสั้นๆ) ผ่านเครื่องสื่อสารเหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนทีที่ทุกคนใช้งานกัน นอกจากนั้นยังนำเครื่องสื่อสาร D-STAR มาต่อกับคอมพิวเตอร์และใช้สนทนาหน้าแป้น(CHAT) ได้เหมือนกับ MSN การปรับแต่งเครื่องและลูกเล่นต่างๆ
สามารถปรับแต่งผ่านโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ ซึ่งง่ายและสะดวก เบญสามารถเลือกเรียกผู้ที่ใช้งานในระบบ D-STAR ในสถานีทวนสัญญาณในต่างประเทศไกลๆ ได้ เช่น อเมริกา (ให้นึกถึง Echolink) แต่ D-STAR จะมีส่วนที่ดีกว่า เดี่ยวมาอถิบายต่อทีหลัง ตอนนี้ก็กำลังเรียนรู้อยู่จ๊ะว่าความแตกต่างมันอยู่ตรงไหน เอาทีรู้ๆ คือ D-STAR ไม่จำเป็นต้องรู้ ID ของคนนั้นๆ เพียงแต่รู้สัญญาณเรียกขานเป็นพอ เดี่ยวเครื่องสื่อสารD-STAR จัดการหาติดต่อให้
ส่วนเครื่องสื่อสาร D-STAR (IC-2820H)ที่ติดตั้งในรถ ก็มีระบบ GPS อันเนียะเบญชอบมากๆ เพราะว่าไม่ว่าคุณสามีจะขับรถไปไหน เบญสามารถดูได้จากอินเตอร์ที่บ้าน ว่าขับรถออกจากเส้นทางไปทำงานหรือเปล่า หุหุ ตอนนี้ บริษัท ICOM ได้ผลิตเครื่องสื่อสารมือถือรุ่นใหม่ โดยมีระบบ GPS อยู่ตรงลำโพง แม้.....อยากซื้อให้คุณสามีจัง เพราะว่าเขาไปไหนก็จะติดวิทยุสื่อสารเหมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที ทีนี้หละ ไม่ว่าไปอยู่ตรงไหน ตามได้ถูก ฮิฮิ
ไปดูแผนที่ GPS (D-Star "APRS"-Karte) คลิกนี้เลยจ๊ะ
ตัวอย่างหน้าเพจ Chat
ตัวอย่าง D-STAR users (มันคือเว็บรายงานการว่าใครใช้งานของระบบนี้ตอนนี้)
ตัวอย่างการตั้งสถานี D-STAR และทำการ Chat
ชอบคุณ Tom อถิบายได้เหมือนง่ายสุดๆ ;D
คำถามที่เจอบ่อยในกระดาษสนทนา 100 วัตต์
อธิบายหน่อยครับว่า APRS กับ D-Star ต่างกันตรงไหนอย่างไรบ้าง
ตอบ ต่างกันแบบคนละเรื่องเลยแหละ
APRS (Automatic Position Reporting System) หรือ ระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติ
D-STAR ( Digita l- Smart Technologz forAmateur Radio) หรือ เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลด้วยระบบดิจิทัล
สรุปก็คือ ระบบ D-STAR รองรับโครงข่าย ระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติ
ก็เหมือนกับว่าคุณมีมือถือใช้โทรศัพท์ แล้วมือถือก็มีลูกเล่น GPS บอกพิกัสอัตโนมัตินั้นแหละ
D-Star รับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล เท่านั้นหรือครับ
ตอบ คะ
ต้องใช้ความถี่ย่านไมโครเวฟเท่านั้นหรอครับ
ตอบ ไม่คะ ใช้ได้ 3 ความถี่ คือ 2 m (145 MHz) , 70 cm (430 MHz) และ 23 cm (1.2 GHz)
ส่วนย่านไมโครเวฟ 23 cm (1.2 GHz) เนียะ บอกได้ว่าเป็นจุดที่หน้าสนใจเพราะว่าถ้าประเทศไทย
เปิดให้ใช้ได้เมื่อไร นักวิทยุสมัครเล่นไทยไม่ต้องเสียค่าอินเตอร์เน็จหลอกคะ เพราะใช้อินเตอร์เน็จ
ผ่านเครื่องวิทยุ อย่างที่เบญใช้อยู่ปัจจุบัน
แค่ขึ้นเสาหาสถานีทวนสัญญาณ + เครื่องวิทยุ IC-ID1 ICOM 23cm Band + Notebook
ก็เข้าใช้งานอินเตอร์ปกติได้แล้วอย่างเบญมีรถบ้าน ก็ใช้อินเตอร์เน็จผ่านเครื่องวิทยุ IC-ID1 คะ
เบญสามารถใช้งานได้เนื่องจากเปิดเข้า Gateway เท่านั้น แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณ หุหุ
DV-Dongle มันคืออะไร
ตอบ เจ้าเครื่อง DV Dongle เนียะ เอาไว้ใช้งานของ
ระบบ D-STAR ในกรรณีที่คุณไม่มีเครื่องวิทยุ
ของระบบ D-STAR แต่ว่ามีคอมฯ และอินเตอร์เน็จ
การทำงานของ DV Dongle (เครื่องต่อเข้าข่าย D-STAR) ก็แค่ซื้อเจ้าเครื่องนี้มา
มาเสียบกับเครื่องคอมฯ ที่มีอินเตอร์เน็จและเข้าโปรแกรม ที่เขาให้ Software มา
ก็สามารถติดต่อเข้าระบบ
D-STAR-Gateway
อย่างในตัวอย่างวีดีโอyoutube ราคาประมาณหมื่นกว่าบาท พร้อมสาย USB และ Software
ในทางกลับกัน ถ้าคุณมีเครื่องวิทยุระบบ D-STAR แต่ไม่มีอินเตอร์เน็จคุณก็เอาเครื่องวิทยุ
ต่อเข้ากับคอมฯใช้งานตามที่ต้องการได้ทั้งสนทนา ส่งข้อมูลสด (Chat) และภาพถ่ายสด
อย่างงี้จะต้อง คุยด้วยแค่ ดิจิตอล กับ ดิจิตอล หรือปล่าว ถ้าคุยกับ อนาล็อก ต้องทำยังไง
ตอบ ถูกต้องแล้วคะ ดิจิตอล ก็ต้องคุยกับ ดิจิตอล
ตย. นาย ก. อยู่ที่ย่านความถี่ 144.0750 ดิจิตอล
นาย ข. ก็อยู่ที่ย่านความถี่ 144.0750 ดิจิตอล ก็สามารถพูดคุยสนทนากับนาย ก.ได้รู้เรื่อง
แต่ นาย ค. อยู่ที่ย่านความถี่ 144.0750 อนาล็อก ก็จะไม่สามารถได้ยินการสนทนาของนาย ก. และนาย ข.
แต่จะได้ยินเสียงแบบสัญญาณรบกวนเท่านั้น และถ้านาย ค. พูด “สวัสดี” ออกไป ทั้งนาย ก. และนาย ข.
ก็ไม่ได้ยินเสียงนาย ค. แต่จะได้ยินเป็นสัญญาณรบกวนเท่านั้นเหมือนกัน
การคุยข้ามกันไป ข้ามกันมาระหว่าง ดิจิตอล กับอนาล็อก ทำไม่ได้คะ
นอกจากว่าจะมีเครื่องวิทยุ Icom แบบที่เบญมีคือ วิทยุมือถือรุ่น ICOM IC-91 และวิทยุติดตั้งรถ ICOM IC-2820
และที่บ้าน ICOM ID-800 เพราะมันสามารถตั้งโปรแกรมให้ปรับเปลี่ยนรับสัญญาณย่านความถี่อนาล็อกได้
ถึงเราจะ Standby ในหมวดดิจิตอลก็ตาม เมื่อเราสนทนาเสร็จ มันก็จะไป Standby ในหมวดดิจิตอลตามเดิม
ผลดีที่ได้ ของD-STAR ไม่เกียวกับระยะทางการติดต่อใช่ไหม จะดีด้านความคมชัด กับการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ หรือเปล่า
ตอบ ถูกต้องแล้วคะ ไม่ขึ้นอยู่กับระยะทาง แต่อยู่ที่ความคมชัดของเสียง อย่างที่เบญเขียนไว้ มันมีระบบสำรอง
ข้อมูล ดิจิตอลของเสียงถึง 3 ชั้น และตัดเสียงรบกวนรอบๆ ออกด้วย สัญญาณจะมีอยู่ 2 แบบคะ คือ ได้ยินแบบชัดๆ หรือ ไม่ได้ยินเลย .......ในคำถามที่”กับการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ หรือเปล่า” นี้หมายถึง ดิจิตอลเสียง DV หรือ ดิจิตอลข้อมูล DD คะ แต่ทั้ง 2 แบบ ได้เหมือนอย่างที่คุณคุยโทรศัพท์ หรือว่าจะสนทนาหน้าแป้นแบบ MSN (ถ้าเอามาต่อกับคอมฯ)แหละคะ นอกจากส่งข้อความสั้นเท่านั้น ที่ได้ข้อความสั้นๆ เพราะถ้ายาวมากๆ คนรับที่จะอ่านผ่านวิทยุมือถือนี้แหละ จะอ่านไม่รู้เรื่อง เพราะประโยคยาวเกินไป เพราะข้อความมันจะขึ้นมาที่หน้าจอแล้วเลือนๆไปเรื่อยๆ บรรทัดเดี่ยว
เป็นการติดต่อผ่านทางดาวเทียมหรือป่าวครับ
ตอบ อย่างไรดีแหละ ถ้าเป็นการสนทนาโดบทั่วไป เครื่องต่อเครื่อง ไม่เป็นการติดต่อผ่านทางดาวเทียมคะ
มันก็เหมือนการติดต่อสื่อสารวิทยุแบบอนาล็อก นั้นแหละ แค่เปลี่ยนมาในหมวดดิจิตอล และถ้าต้องใช้สถานี
ทวนสัญญาณในการขยายเคลือข่าย และใช้อินเตอร์เน็จ (Gatewey) เชื่อมโยงข่ายระยะไกลๆ ด้วย คงต้อง
ขึ้นอยู่ของการเดินทางของอินเตอร์เน็จของคุณว่าใช้ดาวเทียมส่งหรือเปล่า ถ้าใช้ก็คงต้องตอบว่าใช้มัง......
เอาเป็นว่าคุณใช้วิทยุมือถือดิจิตอล ที่ย่านความถี่ 144.0750 ดิจิตอล(ถ้าเมืองไทยเปิดและมีสถานีทวนสัญญาณ)
ก็คุยได้ทั่วโลกแล้วกัน
วิทยุสื่อสารประจำรถยนต์รุ่น IC 2200 H
(Mobilfunkgeraet)ย่าน FM, 2m กำลังส่ง 65W ไม่ทราบว่าได้มี
การติดการ์ด UT-115 หรือยังคะ เพราะปกติ ถ้าซื้อเครื่องมาจะไม่มี
ติดมาด้วยนะคะ ต้องซื้อมาติดต่างหาก ที่เยอรมันมีขายUT-115
Digital Unit f. IC 2200 H ราคา 249,00 EUR
(ตอนนี้ 49-50 บาทต่อยูโร)
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยการคลิกที่ลิงค์ข้างล่างนี้เลยคะ
ข้อมูลประจำเครื่องสื่อสารIC 2200 H
คู่มือประจำเครื่องสื่อสารIC 2200 H
ถ้าพูดถึงเมืองไทยใช้ได้ไหม ขอตอบเลยคะว่าได้ในระดับหนึ่ง เพราะว่าถ้าเมืองไทยมีเครื่องสื่อสารที่ติด UT-115 Digital
แล้วก็สามารถติดต่อกันได้โดยตรงเหมือน Analog ในช่องความถี่ใช้งานที่ท่านใช้กันอยู่เป็นประจำแต่ว่าพวกที่ใช้
Analog จะไม่ได้ยินพวกท่าน Digital คุยกันเท่านั้น และไม่ต้องกลัวคะหลังติดตั้งการ์ด Digital แล้ว วิทยุของท่าน
ก็ยังทำงานในช่อง Analog ได้เหมือนเดิม คือเลือกได้ว่า ท่านจะใช้ Analog หรือ Digital และยังมีลูกเล่นที่ท่าน
จะได้รับอีกคือ ในระบบ GPS (D-Star "APRS"-Karte) ตามที่อถิบายไปแล้ว และก็จะมีชื่อการใช้งานของท่าน
แสดงที่
www.dstarusers.org ด้วยคะ แต่ถ้าเมืองไทยได้ย่าง UHF มาใช้เมื่อไร เราก็มีความถี่เพิ่ม และสามารถ
ขอช่องความถี่มาตั้งสถานีทวนสัญญาณและสามารถใช้ลูกเล่นต่างๆ ของระบบ D-STAR ได้เต็มรูปแบบอย่างที่เห็น
ในต่างประเทศเขาเล่นกันนะคะ เบญว่าโอกาสมีคะ แค่นักวิทยุสมัครเล่นร่วมพลังและทวงสิทธิ์ ในย่าง UHF
(430-440 MHz ) หรือ 70cm คืนสู่นักวิทยุสมัครเล่น และขอเพิ่มในย่าง SHF (1240-1300 MHz) หรือ 23cm
ขอเยอะไปไหมเนียะ
การทำ DV-Adapter ด้วยตนเองเพื่อใช้งานของ D-STAR
เป็นผลงานของคุณโยเคน DL1ZBL ในหนังสือ FUNK AMTEUR ของเดือนกรกฏาคม 2008
ถ้าเมืองไทยจะทำสถานีทวนสัญญาณ 1 สถานี ต้องใช้เครื่องไหนบางคะ
ตอบ แค่นี้แหละ ใช้กันได้สบายแล้วจ๊ะ ตัวควบคุม 1 ตัว และตัวจัดการสัญญาณ ในตัวอย่าง 2 เมตรเตอร์ 1 ตัว
เจ้ากล่องชุดควบคุมสถานีทวนสัญญาณ
(Repeater-Controller) ระบบ D-STAR
ที่คุณเรียกตัว "ID-RP2C" เนียะ
มันมี config ให้ใส่ข้อมูลสัญญาณเรียกขาน
สถานีทวนสัญญาณเท่านั้นจ๊ะ
เจ้ากล่องชุดรับส่งสัญญาณ
144-MHz-DV-Modus-HF-Modul
หรือ 2 เมตรเตอร์ เนียะ
มันมี config ให้ใส่ช่องความถี่เท่านั้นจ๊ะ
ปล. มีตัวควบคุม ID-RP2C และ ตัว ID-RP2000V ของ 2 ม. และขึ้นเสาและสายอากาศ
เป็นอันจบการตั้งสถานีทวนสัญญาณในระบบ D-STAR
แต่ถ้าใช้ Internet-Gateway-Server ก็เพิ่มคอมพิวเตอร์ที่ลง Linux อย่างที่เข้าใจนะถูกแล้ว
ทางบริษัทไอคอม เขามีแผ่นโปรแกรมมาให้ config เลยจ๊ะ
อย่างไร QRV ใน D-STAR ที่ DB0HRF B นะจ๊ะ
ต่อแบบนี้เลยใช่ไหมครับ รบกวนด้วยน่ะครับ
จากคำถามเรื่องการติดตั้งโปรแกรมนั้น ต้องขอออกตัวก่อนว่า เป็นสมาชิกใน สถานีทวนสัญญาณกลุ่ม TRG
อยู่ในตำแหน่งช่วยเหลือทั่วไปไม่ได้รับผิดชอบจริงจัง ทางด้านเทคนิคเลย เพราะตำแหน่งแบบนี้เขายกให้สมาชิก
ที่ทำงานเกี่ยวกับการตั้งโปรแกรมโดยตรงไปเลย เพราะทำงานด้านนี้ก็ต้องชำนาญอยู่แล้ว จริงเปล่า? ทางกลุ่มยก
ให้เป็นหน้าที่ ของ DH9FAX เพราะเขาทำงานเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ของหลวง
แต่การติดตั้งเบญก็ได้เข้าร่วมศึกษากับเขาไปด้วย แบบพอเข้าใจว่ามันเป็นมาอย่างไร เท่านั้นแหละ อย่าว่าแต่เบญเลย
ทุกคนในกลุ่มขณะติดตั้ง Repeater-Controller ก็เปิดสมุดคู่มือเครื่อง อ่านไป ทำไป แก้ไขปัญหากันไป แบบช่วยๆ กัน
ก็อย่างที่ต้นหญ้า เอาแบบคู่มือการเดินสายไฟต่างๆ ของเครื่องมาเปะให้เพือนๆ ชมนี้แหละ
มาเข้าเรื่อง
การติดตั้งโปรแกรมของเครื่อง ID-RP2C (Repeater-Controller) กันดีกว่า
เมื่อเราซื้อเครื่องนี้มา ก็จะได้ IP address ของเครื่อง RP2C ของคุณ ขอยกตัวอย่างนะ (ตัวเลขตัวอย่างจำลองนะ)
controller.
Default: 172.16.0.1
Recommended: 172.16.0.10
ขั้นตอน
1. เอาคอมฯกระเป๋า เพราะเบาและง่ายดีที่มี software Windows PC ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้แหละ
มาเสียบเชื่อมเพื่อตั้งค่าเครื่อง ID-RP2C ที่ช่องที่รอบสีแดงไวตามภาพด้านล่าง
2. ตั้งค่าที่ PC ตาม IP โปรแกรมควบคุม
3. เริ่ม RP2C software ควบคุม IP address ที่ “Network Setup” โดยใส่ Default ที่ได้มาจาก Icom
รูปตัวอย่าง ใส่แบบเลขจำลองด้านบน 172.16.0.1 or 172.16.0.10
4. คลิกที่ “Read” และใส่รหัสผ่าน
5.และจะเห็นหน้าตาโปรแกรมติดตั้งแบบนี้
ปล. จำลองการติดตั้งว่าได้สัญญาณเรียกขานสถานีทวนสัญญาณ สถานีนี้เป็น HS6AN และใช้คู่กับเครื่อง ID-RP2000V
2 เมตร โดยใช้สัญญาณเสียง
สัญญาณลักษณ์อักษรที่มาใช้เป็นดังนี้ Recommended designations:
RP2D (1.2 GHZ) A
RP4000V (UHF) B
RP2000V (VHF) C
6. คลิกที่ “Write” เพื่อบันทึกการตั้งค่า
การตั้งค่าของเครื่อง ID-RP2000V หรือ 2 เมตร
เมื่อเชื่อมเข้ากับคอมฯ ก็จะเห็นหน้าตาดังภาพข้างล่างเพื่อให้ใส่ช่องความถี่
ปล. ภาพด้านบน เป็นโปรแกรมของเครื่อง RP4000V
หรือ 70 ซม. หน้าตาเหมือนกันแหละ
ไม่เหมือนตรงข้อมูลเครื่อง ID-RP2000V
(VHF VOICE Repeater) และช่องความถี่ก็ต้อง 144.000 นะ
อย่างงี้ถ้าเราต่อคอมก็คล้ายๆ EchoLinksใช่ป่ะ
ตอบ ถ้าพูดถึงเรื่องสนทนาหน้าแป้งก็คงคล้ายๆ กันมัง
แต่ที่แน่ๆ D-STAR ไม่ต้องลงทะเบียน มีหมายเลข
เพื่อเข้าเคลือข่ายนะ เท่าที่เห็น
แล้วID-RP2000V ออกกี่วัตต์
ตอบ อย่างสูง ( High) 23-30 W
อย่างต่ำ (Low) 2-3 W
เครื่องมือถือรุ่น IC-91??
เครื่องวิทยุมือถือ IC-91AD ของเบญซื้อมาจากอเมริกา หน้าปัดมีคำว่า D-STAR
มีการ์ด UT-212 ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้วจ๊ะ หรือจากรหัสเครื่องหลังคำว่า IC-91
A หมายถึง analog และ D หมายถึง digital ถ้าเห็นเครื่องรุ่น IC-91A ก็แสดงว่าเครื่องนี้
ไม่มีการ์ด UT-212 ติดมาด้วย และถ้าต้องการใช้ในระบบ digital ร่วมด้วยก็ต้องซื้อการ์ด
มาใส่เองต่างหาก การ์ดราคาแพงกว่าเครื่องด้วยนะ
ส่วนเครื่องมือถือของคุณสามี DF6RK ซื้อที่เยอรมัน หน้าปัดมีคำว่า DUAL BAND
ในรุ่น IC-E91 ซึ่ง อักษร E ก่อนหมายเลข 91 หมายถึงเครื่องที่ขายในยุโรป ในรุ่นนี้ไม่มี
การ์ด UT-212 ติดตั้งมาด้วย ต้องซื้อและมาติดตั้งเพิ่มเอง อย่างภาพในตัวอย่าง ทุกเครื่องมีช่อง
ไว้รองรับการ์ดอย่างที่เห็น นี้แอบแก้ผ้าลูกสาวคุณสามีให้ดูเลยนะเนียะ หุหุ
ถ้า พูดถึงการนำเครื่อง IC-91A หรือ IC-2820 เข้าไปขายเมืองไทย เบญว่าคงถูกล๊อค การใช้งานของเครื่องหลายอย่าง กว่าจะอนุญาตให้ขายในเมืองไทยได้ อย่างเช่นเครื่องที่ขายในยุโรป ย่าง VHF ก็ล๊อคไว้ที่ 144-146 MHz และย่าง UHF ก็ล๊อคไว้ที่ 430-440 MHz ถ้านำไปขายในเมืองไทยย่าง UHF 435-438 MHz
สงสัยถูกล๊อคไว้ให้แสกรน์รับฟังได้อย่างเดี่ยวมัง ไม่รู้จิ เดาเอานะ
ถ้าใช้ ic-91a โดยไม่ใส่ ut-121 คุยกับเครื่องอนาล็อกได้ไหมครับ
ตอบ เครื่องรุ่น ic-91a มันก็วิทยุสื่อสาร analog นะคะ ก็ใช้คุยกับเครื่องวิทยุ analog ด้วยกันได้ ไม่ว่าจะมาจากบริษัทอะไร
ถ้าใช้ ic-91ad เครื่องสามารถตั้งค่าให้คุยกับเครื่องอนาล็อกได้หรือป่าวครับ คือว่าตั้ง ic-91ad เป็นอนาล็อกแล้วคุยกับอนาล็อก
ตอบ รุ่น ic-91ad ก็สามารถเลือกใช้งานได้ทั้ง analog และ digital และเครื่องยังสามารถตั้งให้ทำงานเปลี่ยนรับส่งสัญญาณที่เข้ามาได้โดยอัตโนมัติทั้งในหมวด analog และ digital ได้ ตัวอย่างเช่น เบญ Standby ในหมวดดิจิตอล แล้วมีคนเรียกมาในช่อง analog เบญก็สามารถรับฟังได้ และเครื่องจะปรับเปลี่ยนลงไปที่ analog ให้ เบญสามารถกดคีย์คุยได้ตามปกติ และเมื่อเราสนทนาเสร็จ มันก็จะไป Standby ในหมวดดิจิตอลตามเดิม และอย่างที่ถามมานะคะถ้าใช้งาน analog ก็ใช้คุยกับเครื่องวิทยุ analog ด้วยกันได้ ไม่ว่าจะมาจากบริษัทอะไร
D-Star เป็นเครื่องหมายทางการค้าหรือไม่?
ตอบ ไม่ใช้คะ D-Star เป็น Protocol คะ [protocol (n) ข้อตกลงในการทำการสื่อสาร การกำหนดความหมาย และวิธีการในการสื่อสาร] หรือแปลให้เข้าใจก็คือ ชื่อเรียกระบบการทำงานของชนิดสื่อสารนั้นๆ เช่น P25, EchoLink ฯลฯ
เหมือนกับ P25 หรือไม่?
ตอบ D-Star
กับ P25
เหมือนกันตรงที่เป็นวิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล (Digital) แต่ใช้งานร่วมกันไม่ได้เนื่องจากมีความต่างของ prototype
เครื่องสื่อสารที่ใช้กับระบบ D-Star
ตอบ ตอนนี้มี 2 บริษัท ที่ผลิตเครื่องสื่อสารออกมาวางตลาดขาย กับ 1 บริษัท เครื่องต่อเชื่องเข้าข่าย
คือ
1. บริษัท Icom
* ID-1
* IC-2820H and IC-2820
* ID-800H
* IC-91AD and IC-91A
* IC-V82 and IC-U82
* IC-2200H
* IC-80AD
* ID-880H
และ
2. บริษัท Kenwood
* TWN-706 แต่เป็นการซื้อ license (ใบอนุญาต) เครื่อง ID-800D จากบริษัท Icom เอามาผลิตเป็นรุ่น TWN-706 และเปะเครื่องหมายการค้าของ Kenwood เพื่อขายเข้าสู่ท้องตลาด ฉะนั้นเครื่อง TWN-706 ของ Kenwood จึงหน้าตาเหมือนกับ ID-800H ของ Icom
ส่วน
บริษัท Moetronix
* DV Dongle เป็นเครื่องต่อเข้าเคลือข่าย Internet gateway สู่ระบบ D-Star เท่านั้น ไม่ใช้เครื่องสื่อสาร
D-STAR repeaters
ตอบ คลิกเลยจ๊ะ
ห้องสนทนาเกี่ยวกับ D-STAR ของประเทศอเมริกา
คู่มือการเชื่อมต่อของสถานีท่วนสัญญาณ
http://www.dstar.org.au/Australian_D-Star_Repeater_Linking_User_Guide_V1.1.pdf
dplus Reflecto
http://www.ukit.org.uk/documents/UKIT_dplus_Reflector_User_Guide_V1_1.pdf
คู่มือระบบ
http://www.amateurfunk-digital.de/downloads/doc/D-STAR_specs.pdf
ภาษาเยอรมัน
http://www.amateurfunk-digital.de/downloads/doc/D-STAR-Handbuch.pdf
ตัวอย่าง software ช่วยในการปรับแต่งเครื่อง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (เปลี่ยนทางมาจาก ดิจิตัล)
ดิจิทัล [1] (digital, อาจจะมีสะกดเป็น ดิจิทอล หรือ ดิจิตอล) เป็นระบบที่ใช้ค่าตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง สำหรับการส่งผ่านข้อมูล ประมวลผล เก็บข้อมูล หรือการแสดงผล แตกต่างกับระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องของข้อมูลในการทำงาน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของระบบดิจิทัลและระบบแอนะล็อก สามารถกล่าวถึงได้จากการส่งผ่านข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูล
คำว่า "ดิจิทัล" มาจากภาษาละติน digit มีความหมายว่านิ้ว ซึ่งหมายถึงการนับนิ้วซึ่งเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง
คำว่าดิจิทัลมักจะใช้ในทางคอมพิวเตอร์และทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำค่าใด ๆ เก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์ในสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพถ่าย เสียง หรือวิดีโอ โดยค่าในการจัดเก็บของดิจิทัลจะเก็บเป็นค่าใดค่าหนึ่งในระหว่างสองค่า คือ ค่า 1 (ค่าสัญญาณ) และ ค่า 0 (ค่าไม่มีสัญญาณ) และหลาย ๆ ครั้งคำว่า ดิจิทัล จะถูกเรียกแทนที่ด้วยคำว่า "อี" (e-) ที่ย่อมาจากอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล อีบุ๊ก (ebook) อย่างไรก็ตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกค่าไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นระบบดิจิทัล
หมายเหตุ
^ การสะกด ดิจิทัล เป็นการสะกดตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตามถ้ามีชื่อเฉพาะที่ใช้คำว่า "ดิจิทอล " หรือ "ดิจิตอล" ควรใช้ชื่อตามต้นฉบับเดิม
^ คำอ่านของ digital ตามภาษาอังกฤษ เสียงอ่านใกล้เคียงกับ ดิ-จิ-ตอว หรือ ดิ-จิ-ตาว
เลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ
0 (ศูนย์) กับ 1 (หนึ่ง) บางครั้งอาจหมายถึงการ
ที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด,
ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น
ในปัจจุบันเลขฐานสองเป็นพื้นฐานในการทำงานของคอมพิวเตอร์
โดยนำเอาหลักการของเลขฐานสอง (สถานะไม่มีไฟฟ้า และ สถานะมีไฟฟ้า)
มาใช้ในการสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ที่มีหน่วยประมวลผลแบบ 32 หรือ 64 บิต
หรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการประมวลผลแบบดิจิทัล
บิต (bit)
เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล และทฤษฎีข้อมูล
ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ
? 0 (ปิด)
? 1 (เปิด)
เคลาด์ อี แชนนอน (Claude E. Shannon) เริ่มใช้คำว่า บิต ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ. 2491 โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit) แชนนอนได้กล่าวถึงที่มาของคำนี้ว่ามาจาก จอห์น ดับบลิว ทูคีย์ (John W. Tukey)ไบต์ (byte) เป็นกลุ่มของบิต ซึ่งเดิมมีได้หลายขนาด แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ออกเท็ต (octet) สามารถเก็บค่าได้ 256 ค่า (28 ค่า, 0 ถึง 255) ส่วนปริมาณ 4 บิต เรียกว่านิบเบิล (nibble) สามารถแทนค่าได้ 16 ค่า (24 ค่า, 0 ถึง 15)เวิร์ด (word) เป็นคำที่ใช้เรียกจำนวนบิตที่มากขึ้น แต่ก็ไม่มีขนาดเป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม IA-32 จำนวน 16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ด ในขณะที่ 32 บิตเรียกว่า ดับเบิลเวิร์ด (double word) หรือ dword ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่น ๆ หนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต, 64 บิต หรือค่าอื่น ๆ
ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของ บิตต่อวินาที (bps - bits per second)
บิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป แต่ในขณะนี้มีการวิจัยกันในเรื่องการคำนวณทางควอนตัม (quantum computing) ซึ่งใช้หน่วยวัดข้อมูลเป็น คิวบิต (qubit) (quantum bit)
หน่วยนับ
? 1 กิโลบิต(Kb) = 1000 บิต หรือ 1024 บิต
? 1 เมกะบิต(Mb) = 1000 กิโลบิต หรือ 1024 กิโลบิต
? 1 จิกะบิต(Gb) = 1000 เมกะบิต หรือ 1024 เมกะบิต
? 1 เทราบิต(Tb) = 1000 จิกะบิต หรือ 1024 จิกะบิต
ปล. พูดถึงเมืองไทยกับวิทยุสื่อสารระบบดิจิทัล เบญว่าความหวังยังมีนะ อันดับแรกไปของความถี่ UHF 10 ช่อง ที่นักวิทยุสมัครทั่วโลก เขาใช้กันเพื่อวงการวิทยุสมัคร จากกรมไปรษณีย์คืมมาก่อนแล้วกัน
อ้างอิง
www.youtube.com
www.hamradio.arc.nasa.gov
www.icomamerica.com
www38.quickweb.kunde.sserv.de
www.trg-radio.de
www.wikimedia.org
www.100watts.com
www.ham-radio-olv.org
http://groups.yahoo.com/group/dstar_digital/
www.k5tit.org