หลักฐานที่ใช้ในการขอลดหย่อนภาษี
- เอกสารใบรับรองจากอำเภอว่าเป็นคนเลี้ยงดูบิดามารดาเองที่เมืองไทย
ตัวอย่างที่ 1 และ 2 (ตัวแปลเป็นภาษาเยอรมัน)
- เอกสารการโอนเงินไปเมืองไทยจากธนาคารที่เยอรมัน (ตัวจริง)
- เอกสารสรุปยอดการส่งเงิน (Unterhalt fuer beduerftige Personen)
ตัวอย่างที่ 3
- แบบฟอร์ม Anlage Unterhalt 2008 สามารถปริ้นได้จากการคลิกที่นี้
ปล. เอกสารใบรับรองจากอำเภอว่าเป็นคนเลี้ยงดูบิดามารดาเองที่เมืองไทย ต้องไปทำปีต่อปี หรือสำหรับผู้ที่บินกลับไปเที่ยวเมืองไทยปีหละครั้ง ก็ทำใบนี้ติดมาเพื่อขอลดหย่อนภาษีและต้องเอาไปแปลและเสียค่าแปลปีต่อปี เพราะทาง Finanzamt จะดูวันประทับตรารับรองปีต่อปี โดยถือว่าทางอำเภอที่เมืองไทยเป็นผู้รับรอง และต้องส่งเอกสารก่อนวันที่ 30 พฤษภาคม ของปีทัดไปที่เสียภาษี ถ้าเกิดกำหนดถือว่าสละสิทธิ์ และไม่มีสิทธิ์มาขอเบิกย้อนหลัง เพราะปิดงบไปแล้ว และจะได้เงินคืนภาษีประมาณต้นเดือนตุลาคม ส่วนเอกสารตัวจริงที่ส่งไปแนบกับแบบฟอร์มขอภาษีคืน จะได้คืนกลับมาประมาณเดือนกันยายน
ตั้งแต่ปี 2007 ขอลดหย่อนให้คุณพ่อคุณแม่ได้ยอดสูงสุดคนละ 1920 ยูโร เพราะเขาจัดประเทศไทยอยู่ใน Laendergruppe 4 นะ(ประเทศอื่นๆ) คลิกเพื่อดูคำชี้แจง
สามารถไปขอข้อมูลและพิมพ์แบบฟอร์ม (Formular075)ได้จาก Finanzamt
ตัวอย่างเอกสารที่ 1 หนังสือรับรองb>
ตัวอย่างเอกสารที่ 2 หนังสือรับรองที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน
ตัวอย่างเอกสารที่ 3 ใบสรุปยอดการส่งเงินไปเมืองไทย
หมายเหตุ
การจะได้เงินลดหย่อยคืนเท่าไรนั้น ขึ่นอยู่กับที่คุณสามีของคุณจ่ายภาษี ในช่อง Lohnsteuer กี่เปอร์เซ็นของเงินเดือนของแต่ละคน และนำมาคำนวนได้ดังนี้
ลูก 1 คน ยอดสูงสุดโดยประมาณ 3000 ยูโร
คุณพ่อ ยอดประมาณ 1920 ยูโร
คุณแม่ ยอดประมาณ 1920 ยูโร
ร่วม 3 คนยอดประมาณ 6840 ยูโร (เป็นยอดตัวเงินที่จะได้รับการยกเว้นภาษี)
ส่วนจะได้เงินกลับมาเท่าไรนั้น คำนวนโดยนำยอด 6840 มาหารด้วยเปอร์เซ็นที่คุณสามีจ่ายที่ Lohnsteuer ก็จะได้ตัวเงินที่ได้กลับคืนมา (ส่วนมากภาษีเบอร์ 3 เสียภาษีโดยประมาณ 35 เปอร์เซ็นนะ)
[บทความนี้ศึกษาจากกฎหมายภาษีเยอรมันในวงจรชีวิตของคนไทยในเยอรมัน บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางกฎหมาย แต่เป็นบทความสนทนาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป และให้ข้อคิดเพื่อเก็บไปคิดต่อ ผู้เขียนไม่ขอรับผิดชอบในความถูกผิดแต่ประการใด]